วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ย้ายที่ทำการสมาคมฯ

********** ประกาศ **********
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ย้ายที่ทำการสมาคมฯ




วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล

พระประวัติ

ประสูติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อวันสมโภชเดือน โดยมีรายละเอียดว่า[1]
"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ"
ชาววังโดยทั่วไป เรียกกันว่า "พระองค์ดิศ" โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง[2]

ทรงศึกษา

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์
  • พ.ศ. 2418 เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พ.ศ. 2420 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี

สิ้นพระชนม์

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ รวมพระชนม์มายุได้ 81 พรรษา
ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงขนาดตรัสชมพว่า ทรงเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ"

พระกรณียกิจ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงฉายกับ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4
  • พ.ศ. 2422 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท ผู้บังคับการทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กและในปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยเอก ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุได้ 17 ปี
  • พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็นนายพันตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ ว่าการกรมทหารมหาดเล็ก
  • พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า "กรมกองแก้วจินดา" ทรงจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
  • พ.ศ. 2425 ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระ อุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. 2428 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท
  • พ.ศ. 2429 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฎ และทรงประกาศแต่งตั้งให้ดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ"
  • พ.ศ. 2430 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลตรี
  • พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากงานฝ่ายทหารไปปฏิบัติงานทางพลเรือน ทรงเป็นผู้กำกับ กรมธรรมการ
  • พ.ศ. 2433 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรม ศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2435- 58 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2442 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงดำรงราชานุภาพ"
  • พ.ศ. 2454 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศ เป็น "กรมพระดำรงราชานุภาพ"
  • พ.ศ. 2458 ดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดสำหรับ พระนคร
  • พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอก
  • พ.ศ. 2468 ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2469 ดำรงตำแหน่งนายก ราชบัณฑิตยสภา
  • พ.ศ. 2472 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2405 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. 2411 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[3]
    • เจ้ากรม-หมื่นดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
    • ปลัดกรม-หมื่นปราบบรพล (ศักดินา 400)
    • สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
  • พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)
    • เจ้ากรม-หลวงดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
    • ปลัดกรม-ขุนปราบบรพล (ศักดินา 400)
    • สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
  • พ.ศ. 2454 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศบรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร (ทรงศักดินา 15000)[4]
    • เจ้ากรม-พระดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 800)
    • ปลัดกรม-หลวงปราบบรพล (ศักดินา 600)
    • สมุห์บาญชี-ขุนสกลคณารักษ์ (ศักดินา 400)
  • พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร (ทรงศักดินา 35000)[5]
    • เจ้ากรม-พระยาดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 1000)
    • ปลัดกรม-พระปราบบรพล (ศักดินา 800)
    • สมุห์บาญชี-หลวงสกลคณารักษ์ (ศักดินา 500)

พระโอรสและพระธิดา

พระองค์มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 37 องค์ สิ้นชีพิตักษัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ก่อน 1 ปี 4 องค์ เหลือ 33 องค์

หม่อมเฉื่อย ยมาภัย


กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดา คือหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ
พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเฉื่อยทั้งหมด 10 องค์ คือ

หม่อมนวม โรจนดิศ

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมนวมทั้งหมด 5 องค์ คือ

หม่อมลำดวน วสันตสิงห์ (2420-2511)

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมลำดวนทั้งหมด 7 องค์ คือ

หม่อมแสง ศตะรัตน์

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมแสงทั้งหมด 6 องค์ คือ

หม่อมเจิม สนธิรัตน์

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเจิมทั้งหมด 8 องค์ คือ

หม่อมอบ สุขไพบูลย์

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ

หม่อมหลวงหญิงใหญ่ อิศรเสนา (นามเดิม หม่อมหลวงหญิงลำดวน อิศรเสนา)

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับ หม่อมหลวงหญิงใหญ่ ดิศกุล (อิศรเสนา) (นามเดิม หม่อมหลวงหญิงลำดวน อิศรเสนา) (บุตรีคนโตของหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)) เพียง 2 องค์ คือ

หม่อมหยาด กลัมพากร

พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ
นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงมีหม่อมที่ไม่ได้ประสูติพระโอรสธิดาอีก 3 คน คือ หม่อมเป๋า หม่อมเยื้อน และ หม่อมเพิ่ม

พระราชานุสาวรีย์


พระราชานุสาวรีย์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บริเวณหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในลักษณะประทับนั่ง บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันดำรงราชานุภาพ

วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ สืบเนื่องจากการที่พระองค์เป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"