บทความจากใจท่านนายกสมาคมฯ.
ตัวอย่างเปรียบเทียบที่เราเคยได้ยินบ่อย ๆ คือ สอนให้คนตกปลา
ดีกว่าซื้อปลาให้เขากิน นี่พูดถึงในความหมายให้คนมีความรู้ ความเข้าใจ
ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับการดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท
เราพยายามพูดถึงประโยชน์ในการเป็นสมาชิกสมาคมทุกที่ทุกแห่งด้วยความห่วงใยใน
สถานภาพของอาชีพไกด์ แต่สิ่งที่ได้รับคำตอบกลับมามีอะไรบ้าง
หลายท่านคงทราบกันดี ไกด์กว่า 50,000 กว่าคนที่จดทะเบียน เอาแค่ประมาณ 50%
เพียง 25,000 คน เป็นสมาชิกสมาคม 2,000 กว่าคน
หากเราต้องรับผิดชอบคนเป็นไกด์ในส่วน 25,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับสมาชิก
2,000 กว่าคน หากสภาพเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
กรรมการเพียงหยิบมือจะรับได้อีกกี่มากน้อย
ผมเข้าใจความรู้สึกและความหวังดีของทุกท่าน
แต่ผมคิดว่าต้องคำนึงถือหลักการที่ต้องไม่กระทบต่อบทบาทความรับผิดชอบตามข้อ
บังค้บสมาคม
ผมเคยพูดเสมอว่าการช่วยเหลือพวกเราชาวไกด์คือช่วยกันรณรงค์ให้มาเป็นสมาชิก
สมาคม และสหกรณ์ รวมทั้งกองทุนฌาปนกิจฯ
นั่นคือการสร้างภูมิคุ้มกันและการแนะนำวิธีการตกปลาให้
ซึ่งมีคุณอนันต์ต่อสถาพภาพอนาคตของมัคคุเทศก์เป็นอย่างยิ่ง
ยิ่งไกด์อาวุโสยิ่งต้องตระหนักต่อความเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับไกด์รุ่นหลัง ๆ
ต้องคิดถึงความสามัคคีและความเป็นพลังที่แข็งแกร่งที่จะสะท้อนเป็นประโยชน์
ต่อตนเองและเพื่อนร่วมอาชีพเป็นส่วนรวม one for all, all for one หรือ คน ๆ
หนึ่งทำเพื่อส่วนรวม ส่วนรวมจะย้อนกลับสู่ส่วนตน
อย่าคาดหวังประโยชน์ในการทำเพื่อสังคม แต่ที่สุดสังคมไม่ทอดทิ้ง
จะกลับมาดูแลเราอย่างแน่นอน วันนี้เรายังไม่เป็นสภามัคคุเทศก์
ที่บังคับให้ทุกคนเป็นสมาชิกไม่ได้ เมื่อใดที่เราเป็นสภามัคคุเทศก์
เรื่องความช่วยเหลือต่าง ๆ ก็ไม่เป็นปัญหาว่าใครเป็นสมาชิกหรือไม่
เพราะทุกคนมาอยู่ภายใต้ร่มหลังคาเดียวกัน ดังนั้น
หากจะคิดช่วยเพื่อนร่วมอาชีพกันจริง ๆ ช่วยกันรณรงค์ให้คนในชมรมต่างๆ
มาเป็นสมาชิกสมาคม และสหกรณ์ ฯ ดีกว่าครับ เพราะนั่นคือ
การให้เพื่อนเรามีภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน และหรือมีปลากินตลอด
โดยไม่ต้องรอว่าใครจะเอาปลามาให้ เพราะรู้วิธีตกปลาแล้ว
ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยแสดงน้ำใจต่อเพื่อนในอาชีพ
และสิ่งที่ทำอยู่ผมก็ไม่คัดค้าน แต่เพื่อทราบว่าผมคิดอะไร
เพื่อความเข้าใจอันดีต่อเพื่อน ๆ คณะกรรมการ
เพราะพวกเราก็เพิ่งประชุมเปลี่ยนระเบียบสวัสดิการแล้วด้วย
และในฐานะผู้นำองค์กรไม่อยากจะแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ที่สร้างความสับสนให้
กรรมการอีกหลาย ๆ ท่าน
ในบรรทัดฐานที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติในแนวเดียวกันต่อ
มัคคุเทศก์ทุกคนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก แต่ชมรม
แต่ละชมรมน่าจะแสดงออกได้ดีกว่า
ส่วนสมาคมอยากให้เป็นในลักษณะช่วยรณรงค์เป็นสมาชิกดีกว่าครับ
สมาคมตั้งมาเกือบ 40 ปีแล้ว ทำอะไรมาให้เยอะแยะ ยังต้องแสดงน้ำใจอีกกี่ปี
ถึงจะยอมมาเป็นสมาชิกครับ
เราจะปล่อยให้เกิดการสูญเสียก่อนแล้วให้แสดงน้ำใจเพื่อให้มาเป็นสมาชิกหรือ
แล้วอย่างนี้เราต้องรอเพื่อนไกด์ที่ประสบชะตากรรมแล้วไม่ได้เป็นสมาชิกอีก
กี่คนจึงจะได้ใจกันมาเองทุกคน อีกกี่ปี?
ผมเสียใจที่ไม่อาจเรียกร้องให้ไกด์ทุกคนมาเป็นสมาชิกได้อย่างมีจิตสำนึก
และได้มีโอกาสช่วยเหลือเขาได้เมื่อประสบปัญหา
เพราะผมและเพื่อนกรรมการชุดนี้คงไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเพื่อรอช่วยเหลือคนไม่
ได้เป็นสมาชิก
แต่สมาคมและสภามัคคุเทศก์ที่หากเกิดขึ้นได้ต่างหากที่จะช่วยเขาเหล่านี้และ
กับมัคคุเทศก์ทุก ๆ คน เราได้นำอาหารมาให้ทุกท่านแล้ว (สมาคม
พร้อมสวัสดิการบางส่วน, สหกรณ์ฯ เงินออมและเงินกู้, กองทุนฌาปนกิจ ฯ
เพื่อความมั่นคงในชีวิตของครอบครัว และอนาคตสภามัคคุเทศก์)
โปรดช่วยกันรณรงค์ให้เขาทั้งหลายมาตักทานกันเองบ้างเถอะครับ
...จากใจจริงของกระผม......วิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ ...
วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เรื่องดีดีที่ต้องแบ่งปันกัน
วันนี้ทีม พีอาร์ มีเรื่องมาแบ่งปัน เรื่องจริงไม่อิงนิยาย
ใครไปเที่ยวทางรถไฟ...มาอ่านตรงนี้สักนิด
ประสพการณ์ตรงจากการบอกเล่าของไกด์ภาษาเยอรมัน ประสบการณ์จริง
เป็นอุทาหรณ์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 57 คุณเพชรดา ศรชัยไพศาล
ไกด์ภาษาเยอรมัน ทำทัวร์เส้นทางรถไฟสายมรณะ ขณะที่
นั่งรถไฟจากสถานีน้ำตกเพื่อมาสถานีถ้ำกระแส นั่งอยู่โบกี้ท้ายสุด
ลูกทัวร์ในโบกี้นี้ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวฮอลแลนด์ ลูกทัวร์ของเธอ
เป็นครอบครัวชาวสวิส พ่อ แม่และลูกทั้ง3 ลูกชายคน คนโตอายุ18 ปี
คนรองอายุ 16ปี ลูกสาวคนเล็ก14ปี รถไฟออกจากสถานีน้ำตก เวลา 15.30น.
ขณะรถออกจากสถานีได้ประมาณ15นาที
เป็นช่วงที่ลูกทัวร์ทุกรุ่นอายุตื่นเต้นสนุกสนานกับการถ่ายรูป
ถัดจากเบาะที่เธอนั่ง มีครอบครัวชาวดัชนั่งอยู่ สามี ภรรยา และ ลูกอีก3คน
สักครู่สามีชาวดัชออกไปยืนอยู่ช่วงต่อโบกี้
รถไฟออกจากสถานีน้ำตก ช่วงนั้นทางลาดลงเขา
ประกอบกับช่วงรถต่อของรางที่ไม่ชิดสนิดกัน จึงเกิดการกระชากฉึกฉักๆ
..สิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น.... เขาได้ตกรถไฟ.....
ความเร็วของรถและการกระชากของรถไฟ ร่างของเขาถูกดูดเข้าไปในรางรถไฟ
ช่วงเวลานั้นภรรยา กรีดร้องสุดชีวิต ตา
มด้วยเสียงของผู้เห็นเหตุการณ์ทั้งโบกี้ร้องเพื่อให้เสียดังไปถึงการได้ยิน
ของคนขับเพื่อให้รถไฟหยุด ...
ได้ผล...รถไฟหยุด... เพื่อนของผู้เสียชีวิตลงวิ่งกรูไปดู เสียงกรีดร้องของครอบครัวเพื่อนร่วมคณะดังสนั่นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเสียงร้องไห้ ช๊อคตกใจของคนร่วมโบกี้ หนึ่งในนั้นคือไกด์ท่านนี้ด้วย เธอหันมาที่ลูกทัวร์ของเธอ คุณพ่อมาร์ติน ซึ่งนั่งติดกับครอบครัวผู้เสียชีวิต เห็นเหตุการณ์ประกอบกับความอึกทึกของการเต้นของหัวใจของหลายๆคน คุณพ่อมาร์ตินช๊อค..ตาค้างเห็นแต่ตาขาว..หัวใจหยุดเต้น เสียงลูกๆ "papa.." เธอกระโดดไปหาเขาทันที พร้อมภรรยาและลูกของเขา เทน้ำราดศรีษะ กระตุกเส้นผม ตบหน้า "มาร์ตินตื่นๆ"เธอตะโกนเรียกสุดชีวิต พร้อมทั้ง ปลดกระดุม รูดซิบกางกาง แคทธารีนา ลูกสาวคนเล็กช๊อค ตามด้วยลูกชายอีกสอง เธอกอดและตบไหล่แม่"mama..เธอห้ามร้องไห้ เธอและฉันเราต้องช่วยกัน"ปล่อยแม่ดูพ่อ ครอบครัวคนไทยนั่งข้างๆกันตกใจลุกเดิน เธอขอให้ช่วยด้วยอย่าเดินจากไปช่วยกันกอดลูกทัวร์เธอก่อน คุณตาคุณยายและครอบครัวนี้มาช่วยด้วยหัวใจโอบกอดลูกนกทั้งสามที่สั่น..
คุณพ่อหยุดหายใจไปหนึ่งนาทีก็ฟื้น..ช่วงที่เราโอบกอดแคทธารีนา ก็ตะโกนบอกคนไทยให้ช่วยเรียกไกด์มาโบกี้สุดท้าย..มาช่วยกัน น้องอิสระไกด์ฝรั่งเศส พี่พงษ์ไกด์เยอรมัน และน้องผู้หญิงไกด์อังกฤษ เราช่วยกันนวดปลอบโยนพร้อมโอบกอด..อาการดีขึ้น..แต่ทั้ง 4 คนอาการไม่ดี รถมูลนิธิมาถึงพอดี เธอบอกร้อยเวรที่พึ่งมาถึงขอนายทหาร4นายมาช่วยพยุงลูกทัวร์เพื่อเดินไปขึ้น รถ นายแรกเดินเพื่อให้เร็ว เธอมองไปพอดีตะโกนทันที(คุณทหารคนแรกหยุด..เธอช๊อคเพราะร่างนั้น เลี้ยวขวาใช้บูทย่ำหนามใช้มีดตัดทาง ให้รถมูลนิธิหาทางเข้ามา)ถึงรถ..รถมูลนิธิ..ขนขึ้นทั้งหมด 5+1+2 เสียงหวอดขอทาง...เป็นเสียงเร้าและกระตุ้นการจากของชีวิตมาก 15 นาทีถึงโรงพยาบาลโทรโยค เข้าห้องฉุกเฉิน..ทุกอย่างทุกคนปกติ..อาเล็กซานเดอร์ลูกชายคนกลางตกใจคลั่ง เล็กน้อยใช้กำปั้นชกเสา สักพักมือบวมตรวจทำแผลจัดยา คุณหมอกลับจากการชันสูตรศพ ..มาพร้อมกับการสรุป ศพ..ขาด3จุด คือ คอ/ท้อง/ขา..พยาบาลถามและอุทานออกมาว่า "จะสิบศพแล้วนะและศพเมื่อวานคือศพที่10ในรอบปีนี้".(ตรงนี้เป็นบทสนทนาของ พยาบาลนะคะ ผู้เล่า ไม่ได้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องของจำนวนเอง)
90นาทีอยู่โรงพยาบาล.เข้าโรงแรม20.00น.
โชคดีของลูกทัวร์ที่ไกด์มีสติดีมาก..ขอบคุณคุณเพชรดาที่แบ่งปันเรื่องราว..เห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาแบ่งปันกันอ่าน
ได้ผล...รถไฟหยุด... เพื่อนของผู้เสียชีวิตลงวิ่งกรูไปดู เสียงกรีดร้องของครอบครัวเพื่อนร่วมคณะดังสนั่นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเสียงร้องไห้ ช๊อคตกใจของคนร่วมโบกี้ หนึ่งในนั้นคือไกด์ท่านนี้ด้วย เธอหันมาที่ลูกทัวร์ของเธอ คุณพ่อมาร์ติน ซึ่งนั่งติดกับครอบครัวผู้เสียชีวิต เห็นเหตุการณ์ประกอบกับความอึกทึกของการเต้นของหัวใจของหลายๆคน คุณพ่อมาร์ตินช๊อค..ตาค้างเห็นแต่ตาขาว..หัวใจหยุดเต้น เสียงลูกๆ "papa.." เธอกระโดดไปหาเขาทันที พร้อมภรรยาและลูกของเขา เทน้ำราดศรีษะ กระตุกเส้นผม ตบหน้า "มาร์ตินตื่นๆ"เธอตะโกนเรียกสุดชีวิต พร้อมทั้ง ปลดกระดุม รูดซิบกางกาง แคทธารีนา ลูกสาวคนเล็กช๊อค ตามด้วยลูกชายอีกสอง เธอกอดและตบไหล่แม่"mama..เธอห้ามร้องไห้ เธอและฉันเราต้องช่วยกัน"ปล่อยแม่ดูพ่อ ครอบครัวคนไทยนั่งข้างๆกันตกใจลุกเดิน เธอขอให้ช่วยด้วยอย่าเดินจากไปช่วยกันกอดลูกทัวร์เธอก่อน คุณตาคุณยายและครอบครัวนี้มาช่วยด้วยหัวใจโอบกอดลูกนกทั้งสามที่สั่น..
คุณพ่อหยุดหายใจไปหนึ่งนาทีก็ฟื้น..ช่วงที่เราโอบกอดแคทธารีนา ก็ตะโกนบอกคนไทยให้ช่วยเรียกไกด์มาโบกี้สุดท้าย..มาช่วยกัน น้องอิสระไกด์ฝรั่งเศส พี่พงษ์ไกด์เยอรมัน และน้องผู้หญิงไกด์อังกฤษ เราช่วยกันนวดปลอบโยนพร้อมโอบกอด..อาการดีขึ้น..แต่ทั้ง 4 คนอาการไม่ดี รถมูลนิธิมาถึงพอดี เธอบอกร้อยเวรที่พึ่งมาถึงขอนายทหาร4นายมาช่วยพยุงลูกทัวร์เพื่อเดินไปขึ้น รถ นายแรกเดินเพื่อให้เร็ว เธอมองไปพอดีตะโกนทันที(คุณทหารคนแรกหยุด..เธอช๊อคเพราะร่างนั้น เลี้ยวขวาใช้บูทย่ำหนามใช้มีดตัดทาง ให้รถมูลนิธิหาทางเข้ามา)ถึงรถ..รถมูลนิธิ..ขนขึ้นทั้งหมด 5+1+2 เสียงหวอดขอทาง...เป็นเสียงเร้าและกระตุ้นการจากของชีวิตมาก 15 นาทีถึงโรงพยาบาลโทรโยค เข้าห้องฉุกเฉิน..ทุกอย่างทุกคนปกติ..อาเล็กซานเดอร์ลูกชายคนกลางตกใจคลั่ง เล็กน้อยใช้กำปั้นชกเสา สักพักมือบวมตรวจทำแผลจัดยา คุณหมอกลับจากการชันสูตรศพ ..มาพร้อมกับการสรุป ศพ..ขาด3จุด คือ คอ/ท้อง/ขา..พยาบาลถามและอุทานออกมาว่า "จะสิบศพแล้วนะและศพเมื่อวานคือศพที่10ในรอบปีนี้".(ตรงนี้เป็นบทสนทนาของ พยาบาลนะคะ ผู้เล่า ไม่ได้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องของจำนวนเอง)
90นาทีอยู่โรงพยาบาล.เข้าโรงแรม20.00น.
โชคดีของลูกทัวร์ที่ไกด์มีสติดีมาก..ขอบคุณคุณเพชรดาที่แบ่งปันเรื่องราว..เห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาแบ่งปันกันอ่าน
วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประเด็นประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
งาช้างที่อนุญาตให้ทำการค้าเป็นงาของช้างบ้านที่ถูกต้องตามกฎหมายและเพื่อ
การใช้สอยภายในประเทศเท่านั้น
การค้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้นำเข้าและส่งออกงาช้างทุกชนิดในทุกกรณี รวมถึงการใช้สอยส่วนตัว หรือเป็นของที่ระลึก ดังนั้น อย่าซื้องาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง การนำงาช้างออกนอกประเทศไทยเป็นการกระทำผิดกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 4 เท่าของราคาสินค้ารวมอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกจับกุมดำเนินคดีในประเทศปลายทางอีกด้วย
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้นำเข้าและส่งออกงาช้างทุกชนิดในทุกกรณี รวมถึงการใช้สอยส่วนตัว หรือเป็นของที่ระลึก ดังนั้น อย่าซื้องาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง การนำงาช้างออกนอกประเทศไทยเป็นการกระทำผิดกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 4 เท่าของราคาสินค้ารวมอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกจับกุมดำเนินคดีในประเทศปลายทางอีกด้วย
สอบถาม/แจ้งการค้างาช้างผิดกฎหมาย ติดต่อ
สายด่วน. 1362
Email: citesthailand@yahoo.com
Facebook: Control of Internal Trade in Ivory
Don’t buy ivory
Foreign travellers visiting Thailand should remain aware and not take any risks by buying any ivory products even if it is something as small as an earring or a bracelet or claimed to have been legally registered.
Measures are being taken in all of Thailand’s destinations to tackle illegal ivory trade in the domestic and international wildlife market. The move is in line with the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) to eradicate the international ivory trade.
Thai Ivories and Elephant Legislations
1: Ivory from domesticated elephants can be legally traded, but allowed only for domestic consumption under trade control.
2: Thailand prohibits import and export of ivory even if it is for personal consumption or as souvenir, and tourists are strongly advised not to buy ivory or ivory products. Taking ivory or ivory products outside Thailand is illegal. Offenders could get a jail term of up to 10 years or a fine of up to four times the value of the item or both penalties, and could face arrest at their country of origin.
Thailand submitted the revised ‘National Ivory Action Plan’ last month in accordance with the agreement made at the 65th Meeting of the CITES Standing Committee in July this year. Under the agreement, Thailand must adjust and enforce laws that would more effectively regulate the domestic ivory trade, possession and issuance of trade licenses as well as clamp down on the illegal ivory market.
For more information or to report on illegal ivory trade, contact:
Hotline 1362
Email: citesthailand@yahoo.com
Facebook: Control of Internal Trade in Ivory
สายด่วน. 1362
Email: citesthailand@yahoo.com
Facebook: Control of Internal Trade in Ivory
Don’t buy ivory
Foreign travellers visiting Thailand should remain aware and not take any risks by buying any ivory products even if it is something as small as an earring or a bracelet or claimed to have been legally registered.
Measures are being taken in all of Thailand’s destinations to tackle illegal ivory trade in the domestic and international wildlife market. The move is in line with the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) to eradicate the international ivory trade.
Thai Ivories and Elephant Legislations
1: Ivory from domesticated elephants can be legally traded, but allowed only for domestic consumption under trade control.
2: Thailand prohibits import and export of ivory even if it is for personal consumption or as souvenir, and tourists are strongly advised not to buy ivory or ivory products. Taking ivory or ivory products outside Thailand is illegal. Offenders could get a jail term of up to 10 years or a fine of up to four times the value of the item or both penalties, and could face arrest at their country of origin.
Thailand submitted the revised ‘National Ivory Action Plan’ last month in accordance with the agreement made at the 65th Meeting of the CITES Standing Committee in July this year. Under the agreement, Thailand must adjust and enforce laws that would more effectively regulate the domestic ivory trade, possession and issuance of trade licenses as well as clamp down on the illegal ivory market.
For more information or to report on illegal ivory trade, contact:
Hotline 1362
Email: citesthailand@yahoo.com
Facebook: Control of Internal Trade in Ivory
วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557
รักษ์คลองสาน
ภาพ
วาดลายเส้นจำลองที่ตั้ง
และลักษณะของโบราณสถานสำคัญที่เคยตั้งอยู่บริเวณปากคลองสานในอดีต
อันประกอบไปด้วยป้อมป้องปัจจามิตรซึ่งเป็นป้อมปืนรูปดาวห้าแฉกขนาดใหญ่ที่ล้นเกล้า
รัชกาลที่4ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันเรือข้าศึกทางด้านแม่น้ำเจ้า
พระยาในขณะนั้น
ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นป้อมขนาดใหญ่ที่สุดจากจำนวนป้อมทั้ง8ที่เรียงรายกัน
อันมีป้อมฝั่งตรงข้ามปากคลองสานคือป้อมปิดปัจจนึกที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลอง
ผดุงกรุงเกษมฝั่งพระนคร
ส่วนด้านบนที่เห็นเป็นหมู่เรือนจีนขนาดใหญ่ในแลเงาสีส้มนั้นคืออดีตบ้านของ
พระยาภักดีภัทรากร(เจ้าสัวเกงซัว)นายอากรคนสำคัญช่วงต้นสมัยรัชกาลที่5
ซึ่งต่อมายกหมู่เรือนดังกล่าวเพื่อใช้หนี้หลวง
ล้นเกล้ารัชกาลที่5ทรงพระราชทานหมู่เรือนจีนดังกล่าวเป็นสถานที่แรกตั้งโรง
พยาบาลคนเสียจริตก่อนที่จะย้ายมายังที่ตั้งในปัจจุบัน
ซึ่งก็คือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาตามลำดับ
ส่วนคลองที่เห็นอยู่ด้านล่างสุดนั้นก็คือคลองสาน และทางด้านขวาของภาพก็คือแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบันตัวอาคารที่เคยเป็นหมู่เรือนจีนของพระยาภักดีภัทรากรดังกล่าวไม่ ปรากฎร่องรอยใดๆหลงเหลืออยู่ แปรสภาพเป็นที่ตั้งของอาคารที่พักข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจสมเด็จเจ้า พระยา และปากคลองสาน
ส่วนตัวป้อมป้องปัจจามิตรนั้น เนื่องจากเป็นป้อมขนาดใหญ่จึงถูกรื้อทิ้งเสียเป็นส่วนมากเพื่อตัดถนนลาดหญ้า สร้างอาคารของกรมเจ้าท่า และสร้างอาคารสำนักงานเขตคลองสาน ส่วนที่ปรากฎในปัจจุบันด้านหลังสำนักงานเขตคลองสานนั้นน่าจะเพียง1ใน8ส่วน ของป้อมเดิมที่เคยปรากฎเท่านั้น
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากหนังสือ120ปีสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
ส่วนคลองที่เห็นอยู่ด้านล่างสุดนั้นก็คือคลองสาน และทางด้านขวาของภาพก็คือแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบันตัวอาคารที่เคยเป็นหมู่เรือนจีนของพระยาภักดีภัทรากรดังกล่าวไม่ ปรากฎร่องรอยใดๆหลงเหลืออยู่ แปรสภาพเป็นที่ตั้งของอาคารที่พักข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจสมเด็จเจ้า พระยา และปากคลองสาน
ส่วนตัวป้อมป้องปัจจามิตรนั้น เนื่องจากเป็นป้อมขนาดใหญ่จึงถูกรื้อทิ้งเสียเป็นส่วนมากเพื่อตัดถนนลาดหญ้า สร้างอาคารของกรมเจ้าท่า และสร้างอาคารสำนักงานเขตคลองสาน ส่วนที่ปรากฎในปัจจุบันด้านหลังสำนักงานเขตคลองสานนั้นน่าจะเพียง1ใน8ส่วน ของป้อมเดิมที่เคยปรากฎเท่านั้น
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากหนังสือ120ปีสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
Asian Studies เอเชียศึกษา
** กว่าจะเป็นกรุงศรีอยุธยา **
กรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการมาจากบ้านเล็กเมืองน้อยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาค กลางนับตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (หลัง พ.ศ. 1100) หรือกล่าวอย่างกว้าง ๆ ว่าตั้งแต่ ยุค “ทวารวดี” ลงมา
ศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นชุมทางแม่น้ำหลายสาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับบ้านเมืองภายใน ทั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางเหนือ และทางอีสาน
ลำน้ำเหล่านี้ไหลมารวมกับลำน้ำเจ้าพระยา บริเวณที่ตั้งพระนครศรีอยุธยา แล้วกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลลงไปออกอ่าวไทย จึงเป็นเส้นทางน้ำใหญ่ที่เรือสินค้าต่างประเทศแล่นเข้าถึงพระนครศรีอยุธยา ได้
เหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นเมืองท่าสำคัญ มีเส้นทางคมนาคมติดต่อค้าขายได้ทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้นจึงมีสภาพเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ได้ดีกว่าบรรดาเมืองอื่น ๆ ในขณะนั้น
โดยเฉพาะวัดพนัญเชิงเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง ที่พงศาวดารระบุว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนา พระนครศรีอยุธยา (ใหม่) ถึง 26 ปี แสดงว่าบริเวณนี้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นนครใหญ่มาช้านานแล้ว ก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จะเสด็จขึ้นครองราชย์
และยังมีหลักฐานด้านกฎหมายอีกหลายลักษณะที่ตราขึ้นใช้ก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 คือ
กฎหมายลักษณะกู้หนี้ ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ปี
กฎหมายลักษณะทาส ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ปี
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 7 ปี
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จตอนท้าย นักปราชญ์หลายท่านได้ตรวจสอบศักราช พร้อมทั้งตรวจสอบสำนวนโวหารและร่องรอยอื่น ๆ แล้ว ยืนยัน ตรงกันว่า ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่น้อยกว่า 115 ปี
อโยธยาศรีรามเทพนคร
บริเวณอยุธยา เดิมทีเดียวเป็นชุมชนชาวประมงขนาดเล็ก ๆ ตรงน้ำวนบางกะจะถึงปากน้ำแม่เบี้ย เป็นที่แวะพักแรมของพ่อค้าสำเภาและสลุบกำปั่น ขึ้นล่องระหว่างรัฐทวารวดีที่ลพบุรีกับทะเลสมุทรทางอ่าวไทย นานเข้าก็หนาแน่นแล้วเติบโตขึ้น เป็นชุมชนสถานีการค้าบนเส้นทางการค้าหลายทิศทาง
ศูนย์กลางแห่งใหม่ขนานนามว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร” หมายถึงพระนครแห่งชัยชนะของพระราม ความหมายนี้สืบเนื่องจากทวารวดีที่เป็นเมืองต้นวงศ์พระนารายณ์ ผู้ทรงอวตารเป็นพระรามมาปราบยุคเข็ญตามคัมภีร์รามายณะของชมพูทวีป (อินเดีย)
เมื่อขนานนามเมืองใหม่แล้ว ก็เรียกเมืองเดิม ตามชื่อดั้งเดิมว่า “ละโว้” (น่าเชื่อว่าเป็นคำพื้นเมือง หมายถึง ภูเขา)
บริเวณศูนย์กลางของรัฐอโยธยา (หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร) อยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยาปัจจุบัน โดยมีหลักหมายสำคัญคือ วัดพนัญเชิง, วัดใหญ่ชัยมงคล, ฯลฯ ที่มีสืบมาแต่ครั้งนั้น
จาก สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระเจ้าอู่ทอง สร้างอยุธยา มาจากไหน ?, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2557, หน้า 20-24.
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
แอดมินลูกทุ่งคนยาก
กรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการมาจากบ้านเล็กเมืองน้อยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาค กลางนับตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (หลัง พ.ศ. 1100) หรือกล่าวอย่างกว้าง ๆ ว่าตั้งแต่ ยุค “ทวารวดี” ลงมา
ศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นชุมทางแม่น้ำหลายสาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับบ้านเมืองภายใน ทั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางเหนือ และทางอีสาน
ลำน้ำเหล่านี้ไหลมารวมกับลำน้ำเจ้าพระยา บริเวณที่ตั้งพระนครศรีอยุธยา แล้วกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลลงไปออกอ่าวไทย จึงเป็นเส้นทางน้ำใหญ่ที่เรือสินค้าต่างประเทศแล่นเข้าถึงพระนครศรีอยุธยา ได้
เหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นเมืองท่าสำคัญ มีเส้นทางคมนาคมติดต่อค้าขายได้ทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้นจึงมีสภาพเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ได้ดีกว่าบรรดาเมืองอื่น ๆ ในขณะนั้น
โดยเฉพาะวัดพนัญเชิงเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง ที่พงศาวดารระบุว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนา พระนครศรีอยุธยา (ใหม่) ถึง 26 ปี แสดงว่าบริเวณนี้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นนครใหญ่มาช้านานแล้ว ก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จะเสด็จขึ้นครองราชย์
และยังมีหลักฐานด้านกฎหมายอีกหลายลักษณะที่ตราขึ้นใช้ก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 คือ
กฎหมายลักษณะกู้หนี้ ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ปี
กฎหมายลักษณะทาส ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ปี
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 7 ปี
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จตอนท้าย นักปราชญ์หลายท่านได้ตรวจสอบศักราช พร้อมทั้งตรวจสอบสำนวนโวหารและร่องรอยอื่น ๆ แล้ว ยืนยัน ตรงกันว่า ตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่น้อยกว่า 115 ปี
อโยธยาศรีรามเทพนคร
บริเวณอยุธยา เดิมทีเดียวเป็นชุมชนชาวประมงขนาดเล็ก ๆ ตรงน้ำวนบางกะจะถึงปากน้ำแม่เบี้ย เป็นที่แวะพักแรมของพ่อค้าสำเภาและสลุบกำปั่น ขึ้นล่องระหว่างรัฐทวารวดีที่ลพบุรีกับทะเลสมุทรทางอ่าวไทย นานเข้าก็หนาแน่นแล้วเติบโตขึ้น เป็นชุมชนสถานีการค้าบนเส้นทางการค้าหลายทิศทาง
ศูนย์กลางแห่งใหม่ขนานนามว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร” หมายถึงพระนครแห่งชัยชนะของพระราม ความหมายนี้สืบเนื่องจากทวารวดีที่เป็นเมืองต้นวงศ์พระนารายณ์ ผู้ทรงอวตารเป็นพระรามมาปราบยุคเข็ญตามคัมภีร์รามายณะของชมพูทวีป (อินเดีย)
เมื่อขนานนามเมืองใหม่แล้ว ก็เรียกเมืองเดิม ตามชื่อดั้งเดิมว่า “ละโว้” (น่าเชื่อว่าเป็นคำพื้นเมือง หมายถึง ภูเขา)
บริเวณศูนย์กลางของรัฐอโยธยา (หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร) อยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยาปัจจุบัน โดยมีหลักหมายสำคัญคือ วัดพนัญเชิง, วัดใหญ่ชัยมงคล, ฯลฯ ที่มีสืบมาแต่ครั้งนั้น
จาก สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระเจ้าอู่ทอง สร้างอยุธยา มาจากไหน ?, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2557, หน้า 20-24.
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
แอดมินลูกทุ่งคนยาก
วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557
คณะจากสมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยร่วมการแข่งขันแรลลี่ทางน้ำกับกองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
ทีมตัวแทนสมาคมมัคคุเทศก์
ร่วมกิจกรรมแรลลี่ทางน้ำ คว้ารางวัล ในการแข่งขันมาด้วย..งานนี้จัดโดยสำนักงาน
การท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ เมื้ 20ธค 2557
was inspiration for hi to set up a
new sect called Dhammayuti sect.
วัดราชาธิวาส วัดนี้ รัชกาลที่4 เคยเสด็จประทับชณะทรงผนวช และได้ทรงตั้งคณะธรรมยุตินิ กาย
ที่นี่ โดยได้แรงบันดาลพระราชหฤทัย จากพระสายรามัญนิกาย จากวัดลิงขบ
ที่ตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ สถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสานข อง มอญ เขมร และ
ตะวันตก
วัดราชาธิวาส วัดนี้ รัชกาลที่4 เคยเสด็จประทับชณะทรงผนวช และได้ทรงตั้งคณะธรรมยุตินิ
ออกแบบโดย : กรมพระยายนริศรานุ วัติวงศ์
นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกส ินทร์
อมาได้มีการสร้างขึ้นใหม่เป
Boat Rally.#3 Wat
Kampang...an old temple built since Ayuddaya was our capital . We have chance
to watch ."Katao Taengsuo" an old play that has been conserved by
this community.
วัดกำแพง
คลองบางจาก วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา น ณ ปากน้ำ กล่าวว่าปูนปั้นประดับที่อุโบสถ งดงามที่สุดในฝั่งธนบุรี
เราแวะชมการละเล่นโบราณ ." กระตั้วแทงเสือ" ที่ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ไว้
eatel nut/ leave . Therefore this
area became a floating market in last 40 to 50 years ago.
แวะบ้านศิลปิน
ซึ่งเจ้าของคนปัจจุบันได้อนุรักษ ์ไว้ มีการแสดงหุ่นละครเล็กคณะทำ นาย
เรือนไม้ริมน้ำ แบบโบราณ บริเวณนี้เคยเป็นตลาดน้ำในย ุค40ถึง50ปั
ชาวสวน และพ่อค้าขายปลีก จะพายเรือ มาขาย หมากพลู และผลไม้ และอื่นๆ
ในอดีตเรือนไม้แถวนี้จะเป็น ร้านขายชองชำ ร้านทอง ร้านเสริมสวย และ อื่นๆ
ประวัติโดยย่อ อาจารย์ ปรีชา แสงขจาย โดย อ. สร้อยนภา พันธ์คง
อ.ปรีชา แสงขจาย
เกิดเมื่อวันที่ 7 พค. 2477 ณ ตำบลบ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นบุตรของนายบุญเรือง นางละมัย แสงขจาย
อ.ปรีชามีพี่น้องทั้งหมด 3 คนคือ
1) นส.อารีย์ แสงขจาย อายุ 83 ปี
2) อ.ปรีชา แสงขจาย ผู้วายชนม์
3) นางอรุณ มักพิมล อายุ 79 ปี
อ.ปรีชาเป็นผู้ทีมีอัธยาศัยใจคอ เยือกเย็น ชอบการเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตลอดมา อ.ปรีชา ได้เข้ารับการศึกษาชั้นสูงสุดในระดับอุดมศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ท่านได้เรียนรู้อยู่จนถึงปีที่ 3 เนื่องจากความจำเป็นทางบ้านจึงได้ลาออกมาดูแลครอบครัว แม้ อ.ปรีชา จะมิได้เรียนต่อในรั้วมหาวิทยาลัยแต่ท่านก้อมิได้หยุดค้นคว้าหาความรู้เลยแม้แต่ยามป่วย
การถูกเกณฑ์ทหารทำให้บทบาทของชีวิตเปลี่ยนไป เนื่องจากท่านได้รับความเมตตาจากหลวงรณนภากาศ ฤทธาคนีได้ให้ทุน ส่งไปเรียนต่อยังสถาบันสก็อตแลนด์ยาร์ด ด้วยเห็นแววของความตั้งใจและความเป็นครู ภายหลังจบการศึกษา อ.ปรีชา ได้กลับมาทำงานอยู่กับหลวงรณนภากาศฤทธาคนีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้นโดยทำหน้าที่เป็นครูสอนขับเครื่องบินเชสน่า ให้กองทัพอากาศ แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้น เหตุการณ์บ้านเมืองผันผวนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางการเมือง จึงทำให้ท่านตัดสินใจลาออกและหันเหชีวิตเข้าไปศึกษาธรรมะจนแตกฉาน จนเมื่อบ้านเมืองสงบท่านจึงได้กลับมายังดอนเมืองอีกครั้ง ซึ่งช่วงนั้น GI อเมริกันกำลังนิยมมาเมืองไทยและยังขาดบุคคลากรในการติดต่อประสานงาน ท่านจึงได้หันเหชีวิตเข้ามาในวงการท่องเที่ยวเนื่องจากความชำนาญในการใช้ภาษาของท่าน ท่านจึงนับได้ว่าเป็นมัคคุเทศก์รุ่นแรกๆ ของประเทศไทย จนอยู่มาวันหนึ่งได้มีโอกาสพบ ท่าน ศ.รอง ศยามานนท์ ที่ได้มีเมตตาแก้ไขความรู้ในการอธิบายนักท่องเที่ยวและได้รับทราบว่ายังมีมัคคุเทศก์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังต้องการความรู้เพื่อการอธิบายสถานที่ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง จากสิ่งนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดโครงการฝึกอบรมมัคคุเทศก์อาชีพขึ้นซึ่งนับเป็นคุณานุคุณแก่มัคคุเทศก์รุ่นต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน จากความตั้งใจศึกษาหาความรู้ อ.ปรีชา ยังได้รับความเมตตาจาก มรว.สุมณชาติ สวัสดิกุล เพชรน้ำเอกในวงการประวัติศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่ได้สอนสั่งความรู้เพิ่มเติมและให้ความเมตตา เอ็นดูเป็นพิเศษกับ อ.ปรีชา จนได้รับนามเรียกขานจาก มรว.สุมณชาติ ว่า "เจ้าอ้วน" ตลอดช่วงการดำรงชีวิต อ.ปรีชาอุทิศตนเองให้กับการค้นคว้าและเรียนรู้ตลอดเวลา ได้รับเชิญ สั่งสอน บรรยายในหลายที่ หลายมหาวิทยาลัย และ นับเป็นเกียรติยศแห่งวงตระกูลอย่างยิ่งในการได้รับปริญญามหาดุษฏีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ในสาขาปรัชญา ( Phd.Philosophy) จากมหาวิทยาลัยฟิลาเดลเฟีย
อ.ปรีชาเริ่มป่วยเข้ารักษาตัวในรพ.ราชวิถีเมื่อ 25 พย 57 เเละถึงแก่กรรมด้วยความสงบเมื่อวันที่ 17 ธค 57 รวมสิริอายุ 80 ปี นับว่าเป็นการสูญเสียปูชนียบุคคลที่มีค่ายิ่งของวงการมัคคุเทศก์ไทยผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็นมัคคุเทศก์ ทั้งในด้านการค้นคว้าหาความรู้และในทางปฏิบัติให้มัคคุเทศก์รุ่นหลังได้ยึดถือแนวทางในการทำงานต่อไปในอนาคต... พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา (กาพย์ยานี 11 โดย สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557
รายงานผลการเลือกตั้งนายกสมาคมและคณะกรรมการบริหาร
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมตวันนา ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งนายกสมาคม ผู้สมัคร 2 ท่าน
หมายเลข 1 นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันต์ ได้ 144 คะแนน
หมายเลข 2 นายธวัชชัย ชื่นสวัสดิ์ ได้ 38 คะแนน
ตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคม ผู้สมัคร 20 ท่าน
หมายเลข 1 นางเพชรดา ศรชัยไพศาล ได้ 155 คะแนน
หมายเลข 2 นายธนยศ ณภัทรเที่ยงแท้ ได้ 144 คะแนน
หมายเลข 3 นายสมชาติ อังกาบสี ได้ 150 คะแนน
หมายเลข 4 นางสุภาภรณ์ หยดย้อย ได้ 150 คะแนน
หมายเลข 5 นายจำเริญ พิงพิทยากุล ได้ 131 คะแนน
หมายเลข 6 นายชาติ จันทนประยูร ได้ 139 คะแนน
หมายเลข 7 นางสาวศิริลักษณ์ เขตสูงเนิน ได้ 134 คะแนน
หมายเลข 8 นางสาวสุดารัตน์ เสียมไหม ได้ 137 คะแนน
หมายเลข 9 นางสาวณัฏฐินี ไกรทิพยสุนทร ได้ 131 คะแนน
หมายเลข 10 นายกรวิชญ์ ประพฤทธิ์ตระกูล ได้ 127 คะแนน
หมายเลข 11 นางอนัญญา แก้วชินพร ได้ 41 คะแนน
หมายเลข 12 นายพัณณ์กรณ์ อุโฆษบวรชัย ได้ 38 คะแนน
หมายเลข 13 นางสาวจิรภัทร แก้วชินพร ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 14 นางบุญล้น ทั่งทอง ได้ 38 คะแนน
หมายเลข 15 นายทิพากร จันทร์แถม ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 16 นายสาธิต เลิศโชติรัตน์ ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 17 นางสาวชญาภา สุขมะโน ได้ 30 คะแนน
หมายเลข 18 นายจุติพล รสภา ได้ 32 คะแนน
หมายเลข 19 นายกิตติภูมิ พงษ์ภัทรถาวร ได้ 32 คะแนน
หมายเลข 20 นายสกุลวริศ เผ่าสัจจ ได้ 35 คะแนน
หมายเลข 1 นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันต์ ได้ 144 คะแนน
หมายเลข 2 นายธวัชชัย ชื่นสวัสดิ์ ได้ 38 คะแนน
ตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคม ผู้สมัคร 20 ท่าน
หมายเลข 1 นางเพชรดา ศรชัยไพศาล ได้ 155 คะแนน
หมายเลข 2 นายธนยศ ณภัทรเที่ยงแท้ ได้ 144 คะแนน
หมายเลข 3 นายสมชาติ อังกาบสี ได้ 150 คะแนน
หมายเลข 4 นางสุภาภรณ์ หยดย้อย ได้ 150 คะแนน
หมายเลข 5 นายจำเริญ พิงพิทยากุล ได้ 131 คะแนน
หมายเลข 6 นายชาติ จันทนประยูร ได้ 139 คะแนน
หมายเลข 7 นางสาวศิริลักษณ์ เขตสูงเนิน ได้ 134 คะแนน
หมายเลข 8 นางสาวสุดารัตน์ เสียมไหม ได้ 137 คะแนน
หมายเลข 9 นางสาวณัฏฐินี ไกรทิพยสุนทร ได้ 131 คะแนน
หมายเลข 10 นายกรวิชญ์ ประพฤทธิ์ตระกูล ได้ 127 คะแนน
หมายเลข 11 นางอนัญญา แก้วชินพร ได้ 41 คะแนน
หมายเลข 12 นายพัณณ์กรณ์ อุโฆษบวรชัย ได้ 38 คะแนน
หมายเลข 13 นางสาวจิรภัทร แก้วชินพร ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 14 นางบุญล้น ทั่งทอง ได้ 38 คะแนน
หมายเลข 15 นายทิพากร จันทร์แถม ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 16 นายสาธิต เลิศโชติรัตน์ ได้ 36 คะแนน
หมายเลข 17 นางสาวชญาภา สุขมะโน ได้ 30 คะแนน
หมายเลข 18 นายจุติพล รสภา ได้ 32 คะแนน
หมายเลข 19 นายกิตติภูมิ พงษ์ภัทรถาวร ได้ 32 คะแนน
หมายเลข 20 นายสกุลวริศ เผ่าสัจจ ได้ 35 คะแนน
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ข่าวสารสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยPROFESSIONAL TOURIST GUIDE ASSOCIATION OF THAILANDชั้น 1 อาคารกรมการท่องเที่ยว สนามกีฬาแห่งชาติ 154 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0 2219 2721-2 แฟกซ์ 0 2219 2723 http://www.pgathaiguide.com |
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันที่ 11 ธันวาคม 2557
เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2557-2559
เรียน คณะกรรมการบริหารสมาคม ฯ และที่ปรึกษา
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 1/2557-2559
ด้วยจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2557-2559 ของคณะกรรมการบริหาร ประจำปี 2557-2559 ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม Crystal 2-4 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค (สามแยกดินแดง) ถนนราชปรารภ กรุงเทพ ฯ กรุงเทพ ฯ โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังนี้:-
1. ร่วมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย”
2. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
3. รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 1/2557-2559
4. พิจารณารับรองงบการเงิน และบัญชีรายรับ-รายจ่าย ประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2557
5. พิจารณาโครงงานการประกวดมัคคุเทศก์ดีเด่น ประจำปี 2558 จากคณะทำงาน
6. พิจารณาโครงงานการจัดประชุมสมาคมมัคคุเทศก์อาเซียน (SEATGA) ครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
7. พิจารณาแนวทางการจัดประชุมสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์โลก (WFTGA) ในประเทศไทย
8. รายงานสรุปยอดสมาชิก และอนุมัติการสมัครสมาชิก
9. พิจารณามอบหมายผู้แทนร่วมงาน ประชุม สัมมนา บรรยาย และรายงานสรุปจากผู้แทน
10. เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
จึงเรียนมาเพื่อโปรดเข้าร่วมสัมมนาภาคเช้า และร่วมรับประทานอาหารกลาวัน หลังจากนั้น ภาคบ่ายตั้งแต่เวลา
13.00 น. เชิญร่วมประชุมคณะกรรมการ ตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าวข้างต้นโดยพร้อมเพรียงกัน แต่ทั้งนี้ เนื่องจากต้องจัดเตรียมคูปองอาหารกลางวันและเบรกชา กาแฟ และของว่างภาคบ่ายให้ทุกท่าน จึงโปรดแจ้งยืนยันหรือ SMS มาที่โทร. 081-9130027 ด้วยจะขอบพระคุณยิ่ง
รายงานการประชุมคณะกรรมการ
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 1/2557-2559
วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชุมโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร
กรรมการผู้เข้าร่วมประชุม
- นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคม
- นายธนยศ ณภัทรเที่ยงแท้ อุปนายกฝ่ายบริหาร
- นายสมชาติ อังกาบสี อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
- นางเพชรดา ศรชัยไพศาล อุปนายกฝ่ายวิชาการ
- นายชาติ จันทนประยูร เลขาธิการ
- นางสุภาภรณ์ หยดย้อย เหรัญญิก
- น.ส.กัญญานิษฐ์ นันทรุจน์ธารา ปฏิคม
- น.ส.ศิริลักษณ์ เขตสูงเนิน นายทะเบียน
- นายจำเริญ พิงพทยากุล กรรมการกลาง
- น.ส.ณัฏฐินี ไกรทิพยเนตร กรรมการกลาง
- นายสมานนพพล รัตนธรรมทิตยา ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายบริหาร
- นางเรวดี เลิศอริยกฤต ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายวิชาการ
- นายแก้วเล็ก เหลืองอุดมเลิศ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายวิชาการ
- น.ส.สิริลักษณ์ ปราชญ์ปัญญาธร ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์
- น.ส. อารีรัตน์ มนัสวงษ์กาญจน์ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์
- นายศตพร วานิชทวีวัฒน์ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์
- น.ส.อรทัย เทิดนามวงศ์ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ที่ปรึกษาผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายธวัชชัย เงยเจริญ 2. นายนรินทร์ เรืองวงศา 3. นายไชยวิทย์ ภควิญญู
4. นายสมพงษ์ นิธิวรรชนะ 5. นายธวัชชัย ชื่นสวัสดิ์ 6. นายสว่าง ดวงบุญ
7. น.ส. สร้อยนภา พันธุ์คง 8. นายเพียร หยดย้อย
อนุกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม
- นายพีรพล อ่อนลำยอง 2. นายวิฑูรย์ หินแก้ว 3. น.ส. พาณิภัค น้อยอิ่มใจ
4. น.ส. สุกัญญา สิทธิศักดิ์
ผู้เข้าร่วมประชุม
- นางสาวปาณัสม์ศา สุขประเสริฐ 2. นายพูนผล แพรทอง 3. นางอนัญญา แก้วชินพร
4. น.ส. จิรภัทร แก้วชินพร 5. นางศิวนาถ ภู่ภิญโญยิ่ง
กรรมการลาประชุม
- นายกรวิชญ์ ประพฤทธิ์ตระกูล ประชาสัมพันธ์
- นายนิธิรัฐ มาตระกูล ผู้ช่วยนายทะเบียน
- น.ส. พรรณธรณ์ วสุพงษ์พิศาล ผู้ช่วยปฏิคม
- นายไพศาล ซือธานุวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ
เจ้าหน้าที่สมาคม
1. นางฐิติญาภร สุวรรณโสภา 2. นางสาวพลอยไพริน นามไพร
เริ่มประชุมเวลา 17.30 น.
เมื่อครบองค์ประชุม นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคม ฯ ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมได้กล่าวเปิดประชุม และได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังต่อไปนี้.-
วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ประธาน ฯ ได้แจ้งว่าการประชุมวันนี้นับเป็นครั้งแรกของคณะกรรมการบริหารสมาคม ฯ ชุดใหม่
ประจำปี 2557-2559 และ
เช่นกัน
ก็จะมีการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์มัคคุเทศก์อาชีพแห่ง
ประเทศไทยชุดใหม่ ที่มี นายเพียร หยดย้อย เป็นประธานกรรมการดำเนินการด้วย
เพื่อเป็นการสนับสนุนงบประมาณการจัดประชุมในวาระเดียวกัน
1.2 ประธาน ฯ ได้ขอเสนอที่ประชุมพิจารณาอนุมัติ การรับสมัครเจ้าหน้าที่สมาคม ฯ เพิ่มเติม 1 คน
ในวันนี้ คือ น.ส. พลอยไพริน นาม
ไพร จบการศึกษาปริญญาตรี (ศศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในอัตราเงินเดือนขั้นต้น 10,000 บาท
โดยมีระยะเวลาทดลองการปฏิบัติงาน 3 เดือน
ก่อนจะพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือนให้เมื่อครบกำหนดและผ่านการประเมินผลการทำ
งาน ทั้งนี้ ให้เริ่มปฏิบัติการทดลองงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 – 28
กุมภาพันธ์ 2558 ด้วยเหตุผลว่าสมาคม ฯ
ได้มีโครงการและภารกิจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
อีกทั้งต้องช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์มัคคุเทศก์ ฯ ด้วย
ทำให้เจ้าหน้าที่สมาคม ฯ ที่มีอยู่คนเดียว รับภาระความรับผิดชอบงานมาก
ทำให้บางครั้งไม่สามารถสนองตอบงานเร่งด่วน และ งานบัญชีและการเงินของสหกรณ์
ฯ ที่ต้องช่วยทำควบคู่กันไป
และได้รับการเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่สำนักงานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ให้ปรับปรุงมา
โดยตลอดที่จะต้องให้มีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 2 คน
เพื่อดูแลด้านบัญชีและด้านการเงินฝ่ายละคน
จึงเห็นควรต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่เพื่อแบ่งเบาภาระ
มติที่ประชุม
ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติตามที่ประธาน ฯ แจ้งและเสนอเพื่ออนุมัติ ให้รับ
นางสาวพลอยไพริน นามไพร เป็นเจ้าหน้าที่สมาคม ฯ
พร้อมด้วยเงินเดือนและเงื่อนไขที่เสนอ เป็นเอกฉันท์
วาระที่ 2 รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตำแหน่งต่างๆตามข้อบังคับที่ 26, 30 และ 31
ประธาน ฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆในคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ประจำปีบริหาร 2557 – 2559 ดังนี้
คณะ
กรรมการบริหาร จำนวน 10 คน
ที่มาจากการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 เมื่อวันที่ 30
ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากตำแหน่งนายกสมาคม ฯ มีดังนี้
- นายธนยศ ณภัทรเที่ยงแท้ อุปนายกฝ่ายบริหาร
- นายสมชาติ อังกาบสี อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
- นางเพชรดา ศรชัยไพศาล อุปนายกฝ่ายวิชาการ
- นายชาติ จันทนประยูร เลขาธิการ
- นางสุภาภรณ์ หยดย้อย เหรัญญิก
- น.ส.กัญญานิษฐ์ นันทรุจน์ธารา ปฏิคม
- น.ส.ศิริลักษณ์ เขตสูงเนิน นายทะเบียน
- นายกรวิชญ์ ประพฤทธิ์ตระกูล ประชาสัมพันธ์
- นายจำเริญ พิงทิพยสุนทร กรรมการกลาง
- น.ส.ณัฏฐินี ไกรทิพยสุนทร กรรมการกลาง
คณะกรรมการแต่งตั้งโดยนายกสมาคม จำนวน 10 คน ดังนี้
1. นางเรวดี เลิศอริยกฤต ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายวิชาการ
2. นายแก้วเล็ก เหลืองอุดมเลิศ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายวิชาการ
3. นายสมานนพพล รัตนธรรมทิตยา ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายบริหาร
4. น.ส.อรทัย เทิดนามวงศ์ ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
5. นายไพศาล ซือธานุวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ
6. น.ส. พรรณธรณ์ วสุพงษ์พิศาล ผู้ช่วยปฏิคม
7. นายนิธิรัฐ มาตระกูล ผู้ช่วยนายทะเบียน
8. น.ส.สิริลักษณ์ ปราชญ์ปัญญาธร ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
9. น.ส.อารีรัตน์ มนัสวงษ์กาญจน์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
10. น.ส. ศตพร วานิชทวีวัฒน์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
คณะอนุกรรมการ จำนวน 7 คน ดังนี้
1. นายพีรพล อ่อนลำยอง
2. นายวิฑูรย์ หินแก้ว
3. คุณจินตนา ปัญญาเลิศ
4. คุณจินตนาภรณ์ จิกิตศิลปิน
5. นางสาวณภัทร ผดุงเทียน
6. น.ส.เพลินพิศ สุขสุคนธ์
7. น.ส.พาณิภัค น้อยอิ่มใจ
คณะกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 18 คน ดังนี้
1. ดร.สพสรรค์ เพชรคำ
2. นายสรรค์สนธิ บุญโยทยาน
3. ดร.ศิริพร แพรศรี
4. ดร.สุชาดา เจริญพันธ์ศิริกุล
5. นางสาวสร้อยนภา พันธุ์คง
6. นายคำนนท์ สูตะบุตร
7. นายนรินทร์ เรืองวงศา
8. นายเพียร หยดย้อย
9. นายธวัชชัย เงยเจริญ
10. นายไชยวิทย์ ภควิญญู
11. นายชาติชาย โพธิปัดชา
12. นายกฤษณ์วรงค์ คลังธนาภัทร
13. น.ส.พิมลรัตน์ ภัทรโพธิกุล
14. นายปราโมทย์ แช่มโกศล
15. นายสมพงษ์ นิธิวรรธนะ
16. นายธวัชชัย ชื่นสวัสดิ์
17. นายสว่าง ดวงบุญ
18. นายณรงค์ สุทธิพงศ์พิธาน
วาระที่ 3 รับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 25/2555-2557
ประธาน ฯ ได้เสนอที่ประชุมเพื่อรับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 25/2555-2557 ซึ่ง
เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการชุดเดิม ประจำปี 2555-2557
ที่คณะกรรมการชุดใหม่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการประชุมโดยตรงอย่างเป็นทางการ
ดังนั้น จึงไม่ได้นำมาเป็นวาระเพื่อให้การรับรองรายงานการประชุมตามปกติ
แต่เพียงให้เป็นการรับทราบ
อย่าง
ไรก็ตาม
โดยที่มีมติจากการประชุมคณะกรรมการชุดเดิมของครั้งที่แล้วที่จะต้องมีผล
ผูกพันกับคณะกรรมการชุดใหม่ด้วยในหลายมติ
จึงจำเป็นต้องให้ที่ประชุมพิจารณาอีกวาระหนึ่งเพื่อให้การรับรองเป็น
สัตยาบัน
เพื่อให้เป็นมติของคณะกรรมการชุดใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้มีผลผูกพันต่อ
เนื่อง
มติที่ประชุม
ที่ประชุมคณะกรรมการ ฯ
ได้พิจารณาและมีมติรับรองเพื่อเป็นการให้สัตยาบันต่อรายงานการประชุมของคณะ
กรรมการบริหารชุดเก่า ครั้งที่ 25/2555-2557 เป็นเอกฉันท์
วาระที่ 4 พิจารณารับรองงบบัญชีรายรับ-รายจ่าย สิ้นสุด ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557
ประธาน
ฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า
เนื่องจากการประชุมครั้งนี้จัดให้มีขึ้นเป็นการเร่งด่วน
เพื่อให้คณะกรรมการชุดใหม่ได้เริ่มทำงานอย่างเป็นทางการโดยเร็ว
เพราะได้มีการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ตามที่ปรากฏขึ้นแล้วหลายกิจกรรม
ทำให้งบบัญชีการเงินของเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่เพิ่งสิ้นเดือนเมื่อวันวาน
(วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557) แต่สมาคม ฯ จัดประชุมคณะกรรมการชุดใหม่ในวันนี้
(1 ธันวาคม 2557) ซึ่งเพิ่งจะจัดส่งเอกสารรายรับ-รายจ่าย
ให้กับสำนักงานบริการทำบัญชี
จึงทำให้ไม่สามารถจะจัดทำบัญชีประจำเดือนเพื่อให้พิจารณาในที่ประชุมได้ทัน
จึงขอยกยอดไปพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
ที่อาจจะจัดอีกครั้งหนึ่งสำหรับเดือนธันวาคม 2557 เป็นกรณีพิเศษ
พร้อมกับการสังสรรค์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
วาระที่ 5 พิจารณาเตรียมโครงการประกวดมัคคุเทศก์ดีเด่น ประจำปี 2558 พร้อมนโยบายและแผนการทำงาน
ประธาน
ฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า
เนื่องจากในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ ททท. เป็นเจ้าภาพ
ซึ่งจะมีการจัดประกวดทุก 2 ปี และจะมีรางวัลมัคคุเทศก์ดีเด่นรวมอยู่ด้วย
แต่ใน 2 ครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 8 และ 9) ททท.
มีความประสงค์จะยกเลิกการประกวดรางวัลมัคคุเทศก์ดีเด่นออกจากโครงการ
โดยให้เหตุผลว่าเกรงจะเป็นการทับซ้อนกับบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของกรมการ
ท่องเที่ยว ซึ่งประธาน ฯ
ไม่เห็นด้วยเพราะควรจะมองในแง่ว่ามัคคุเทศก์เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริม
บุคลากรด้านการตลาดที่ควรให้มีรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ดังนั้น
บทบาทหน้าที่หรือภารกิจจึงแตกต่างกัน เหมือนรางวัลอื่น ๆ ของ ททท.
ก็ไม่ได้เป็นส่วนของ ททท. โดยตรง เช่น การให้รางวัลการประกวดโรงแรมที่พัก
อุทยานแห่งชาติต่าง ๆ เป็นต้น
ซึ่งล้วนมีหน่วยงานในต่างกระทรวงดูแลอยู่เช่นกัน
และว่าไปแล้วมัคคุเทศก์กลับมีความสำคัญและมีบทบาทใกล้ชิดกับภารกิจหน้าที่
ของ ททท. มากกว่าด้วยซ้ำ
ซึ่งก็ได้เจรจากับอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวในสมัยนั้น ๆ
จนยินยอมให้มีการประกวดรางวัลมัคคุเทศก์ร่วมด้วยเหมือนเดิม
และครั้งนี้ที่จะมีเป็นครั้งที่ 10 (แต่การประกวดมัคคุเทศก์ดีเด่น
จะเป็นการจัดครั้งที่ 8) ก็ปรากฏการที่จะยกเลิกอีกในสมัยนี้ ซึ่งประธาน ฯ
ก็ได้ไปเจรจากับผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน (นายธวัชชัย
อรัญญิก) และก็ได้รับการอนุมัติงบประมาณมาจัดเหมือนเดิม
แต่ขอให้เป็นการจัดในนามของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยโดยตรงเอง
ซึ่งประธาน ฯ ได้ของบประมาณไป 1 ล้านบาท
ดัง
นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการในนามสมาคม ฯ เอง เพื่อมิให้สะดุด
แต่ได้ต่อรองให้มีการแจกรางวัลในวันเดียวกันกับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ไทยคือ 27 กันยายน 2558 แต่ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้
อย่าง
ไรก็ตาม ก็อยากให้ที่ประชุมพิจารณาโครงการนี้ว่าจะทำกันอย่างไร
จะรับเฉพาะงบประมาณมาทำเองตามที่ ททท. เสนอมาให้แล้ว
รวมทั้งการแจกรางวัลจะจัดกันเองด้วยหรือไม่อย่างไร
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
และเห็นว่าควรมีรางวัลดังกล่าวนี้ต่อไปเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่
มัคคุเทศก์ทั้งหลาย
และยังจะเป็นการช่วยส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานให้แก่มัคคุเทศก์อีกด้วย
ต่อ
มา ที่ประชุมได้มีการสรุปความเห็นเพื่อเป็นมติว่า
สมควรให้มีการจัดงานประกวดมัคคุเทศก์ดีเด่น ประจำปี 2558
และให้มอบรางวัลในวันมัคคุเทศก์ไทย คือในวันที่ 21 มิถุนายน 2558
โดยให้เชิญผู้บริหารภาครัฐ
ซึ่งควรจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือ นายกรัฐมนตรี
ส่วน
แนวทางการจัดประกวดนั้น ประธาน ฯ เสนอที่ประชุมให้ นางเพชรดา ศรชัยไพศาล
อุปนายกฝ่ายวิชาการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน จัดหาคณะทำงานร่วมทีม
เพื่อมีหน้าที่กำหนดแผนงาน ขั้นตอน ระเบียบวิธีการจัดประกวด
กำหนดแบบและประเภทรางวัลที่จะให้
เพื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบและเห็นชอบตามที่ที่ประชุมได้สรุปความเห็นเป็นเอกฉันท์
วาระที่ 6 พิจารณาโครงการการจัดประชุมสมาคมมัคคุเทศก์อาเซียน (SEATGA) ครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
ประธาน ฯ แจ้งที่ประชุมว่า มีดำริว่าประเทศไทยสมควรที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสมาคมมัคคุเทศก์อาเซียน หรือ SEATGA ภายในปี 2558 ทั้งนี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลก
ต่อไปคือ การประชุมใหญ่ของสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์โลก หรือ WFTGA เพื่อ
จะได้ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการในการจัดประชุมระดับสากลให้แก่สมาคม
ฯด้วย ทั้งนี้ ประธาน ฯ ได้ปรึกษาในเบื้องต้นกับผู้บริหาร สสปน.
หรือสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ TCEB
ไปแล้ว
โดยขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้และการเตรียมการเสนอตัว
เป็นเจ้าภาพงานแต่เนิ่น ๆ ในที่ประชุมคณะกรรมการในวันนี้
แต่เนื่องจากแจ้งกะทันหัน จึงขอเลื่อนที่จะมาร่วมประชุมในครั้งหน้าแทน
ทั้งนี้ ประธาน ฯ เสนอให้ นายชาติ จันทนประยูร
เลขาธิการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และจัดหาทีมคณะทำงาน
โดยให้มีบทบาทหน้าที่เช่นเดียวกับ คณะทำงานของการจัดประกวดมัคคุเทศก์ดีเด่น
คือ วางแผนการทำโครงการ และกรอบงาน นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการในครั้งต่อไป
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ และมีมติเห็นชอบตามที่เสนอเป็นเอกฉันท์
วาระที่ 7 พิจารณาโครงการจัดประชุมสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์โลก (WFTGA) ในประเทศไทย
ประธาน ฯ แจ้งให้ทราบว่า สมาคม ฯ มีเป้าหมายที่จะจัดการประชุมสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์โลก (WFTGA) ในปี 2019 โดยสมาคม ฯ อาจจะต้องเข้าร่วมในการแข่งขัน Bidding ในปี 2017 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคใดยังไม่แน่ชัด เพราะจะหมุนเวียนสลับเปลี่ยนไปตามภูมิภาค ดังนั้น การจัดประชุม SEATGA จะเสมือนเป็นเวทีที่จะเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม WFTGA โดยในการเตรียมการคงจะให้ คณะกรรมการสมาคม ฯ ชุดใหญ่เป็นคณะทำงานร่วมกัน ซึ่งจะได้พิจารณาในรายละเอียดต่อไป
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
วาระที่ 8 พิจารณารายงานสรุปยอดสมาชิก และอนุมัติการสมัครสมาชิก
เลขาธิการ
ได้รายงานยอดสมาชิกขอสมัครใหม่รายปีและตลอดชีพ
รวมทั้งสมาชิกเก่าที่มาต่ออายุสมาชิกภาพในเดือนพฤศจิกายน 2557
และที่ประชุมได้มีมติอนุมัติใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก ดังนี้.-
1. สมาชิกสามัญรายปี จำนวน 33 คน
2. สมาชิกสามัญตลอดชีพ จำนวน 6 คน
วาระที่ 9 รายงานการจัดโครงการต่าง ๆ ของฝ่ายวิชาการ และ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน
ฝ่ายวิชาการรายงานว่า จะมีการจัดอบรมและเยี่ยมสถานที่ภายนอกเพื่อการทัศนศึกษาหลายโครงการด้วยกัน อาทิ โครงการ Home Stay การท่องเที่ยวเชิงสมดุลวิถีถิ่น การอบรมด้านภาษา โดยจะได้ประสานงานกับหน่วยงานของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ก็ได้รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยได้รับความสนใจจากสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากในทุกครั้ง
ประธาน ฯ เสนอให้มีการจัดอบรมเรื่องแนวทางการปฏิบัติงานของผู้นำเที่ยว Outbound บ้าง โดยอยากจะให้
อาจารย์สมพงษ์ นิธิวรรธนะ ที่ปรึกษาสมาคม ฯ เป็นผู้จัดการดำเนินการ
เพราะสมาคม ฯ
มีทั้งสมาชิกสามัญมัคคุเทศก์และสมาชิกวิสามัญผู้นำเที่ยวที่ทำทัวร์ต่าง
ประเทศมากเหมือนกัน
มติที่ประชุม ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 10 พิจารณามอบหมายผู้แทนร่วมงาน ประชุม สัมมนา บรรยาย และสรุปจากผู้แทน
ประธาน ฯ ได้เสนอให้ทีประชุมทราบ
และมอบหมายให้กรรมการไปร่วมประชุมตามที่มีหนังสือจากหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ
ส่งมา เพื่อขอให้นายกสมาคม ฯ หรือผู้แทนไปร่วมประชุม สัมมนา บรรยาย
พร้อมกันนี้ ผู้แทนสมาคม ฯ ทีได้รับมอบหมายไปร่วมภารกิจมาแล้ว
ได้รายงานผลที่ไปร่วมประชุม สัมมนา ต่าง ๆ ให้ที่ประชุมทราบ
ซึ่งได้รับความสนใจจากที่ประชุมร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่ม
เติมกันตามสมควร
นอกจากนี้ ประธาน ฯ
ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าอยากจะให้คณะกรรมการชุดใหม่ที่หลายคนที่เพิ่งมาร่วมงาน
กัน ได้ออกไปประชุม สัมมนา
กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จัดและเชิญมาได้สลับกันไปเป็นผู้แทนสมาคม ฯ
เพราะจะได้รับรู้เรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง
เพื่อจะได้รับหน้าที่เป็นวิทยากรในการร่วมสัมมนา เสวนา
หรืออภิปรายในที่ประชุมต่าง ๆ ได้ตรงประเด็น
วาระที่ 11 เรื่องอื่นๆ
ประธาน ฯ แจ้งให้ทราบว่า
อาจารย์ปรีชา แสงขจาย สมาชิกอาวุโส
ขณะนี้ล้มป่วยลงด้วยโรคหลายโรคที่มาตามวัยและสังขาร
และเข้าพักรักษาตัวอยู่ในห้อง ICU ตึกฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี
แต่เนื่องจากแพทย์ยังไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมภายในห้องได้
และยังไม่รู้สึกตัว จึงยังคงเยี่ยมได้จากภายนอกห้องเท่านั้น ซึ่งประธาน ฯ
จะได้นัดคณะกรรมการเพื่อเยี่ยมเยียนต่อไปในสถานการณ์และโอกาสที่เหมาะสม
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมาเมื่อไม่มีผู้ใดเสนอเรื่องอื่นใดเข้าที่ประชุมอีก ประธานจึงกล่าวปิดประชุมเมื่อเวลา 18.30 น.
(ชาติ จันทนประยูร)
เลขาธิการ/ผู้บันทึกการประชุม